วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ข้อสอบวิชา การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต การบริหารการศึกษา ปีการศึกษา2/2551 โดย นางน้ำฝน สารสุข ป.บัณฑิต รุ่น 8 เลขที

โจทย์ข้อ 1. ท่านสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กรของท่านได้อย่างไร บอกกรอบ
ความคิด ขั้นตอน ผลกระทบให้เห็นกระบวนการคิดของท่านทั้งระบบ
ตอบ 1.1. นำเอาระบบสารสนเทศมาบริหารจัดการในด้านบุคลากร งบประมาณ ด้าน
วัสดุอุปกรณ์ ด้านการบริหารจัดการศึกษา โดยการเก็บข้อมูล วางแผนงาน
อย่างเป็นระบบ
1.2. จัดทำแผนงานของหน่วยงานในองค์กรให้เป็นระบบ ตรวจสอบและสามารถ
นำไปปฏิบัติได้รวดเร็ว ชัดเจน และคล่องตัวในการดำเนินงาน
1.3. เมื่อต้องการติดต่อกับหน่วยงานภายนอก ส่งข่าวสารระหว่างกันใช้เครื่องมือ
เทคโนโลยี เช่น โทรศัพท์ โทรเลข จดหมาย สิ่งสิ่งพิมพ์ต่างๆ
1.4. เมื่อต้องการทราบข่าวสารหรือเรื่องราวจากทั่วโลก ก็ใช้ระบบอินเตอร์เน็ตจาก
คอมเตอร์หรือการส่งข้อมูลโดยใช้ระบบออนไลนส์
1.5. นำเอาระบบสารสนเทศมาในการวางแผนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับนโยบายและ
แผนกลุทธ์ขององค์กร
1.6. ช่วยในการตัดสินใจของผู้ใช้ในการปฏิบัติงาน
1.7. นำไปช่วยในการประมวลผลการประเมินต่างๆ
1.8. นำเอาสารสนเทศมาใช้กับห้องสมุดในการบันทึกข้อมูลของหนังสือ จัด
หมวดหมู่ แยกประเภท ติดตามการรับ- ส่งหนังสือ หรืออื่นๆ
1.9. จัดเก็บข้อมูลงานวิจัยของครู ข้อมูลเปรียบเทียบงาน โครงการ กิจกรรม
หรือกลุ่มงานในองค์กร
ผลกระทบ - กรณีถ้าเป็นระบบคอมพิวเตอร์หรืออินเตอร์เน็ตก็อาจเกิดความผิดพลาดได้ในกรณี
ระบบล้มหรือไวรัสเข้าอาจทำให้ข้อมูลเสียหายหรือล่าช้าได้
- หากผู้ใช้ไม่มีทัศนคติที่ดีต่อระบบสารสนเทศและเป็นผู้นำในการใช้แล้ว ผล

สัมฤทธิ์ก็อาจไม่เกิดขึ้น
- ถ้าข้อมูลที่เป็นความลับของหน่วยงาน ไม่อาจนำเผยแพร่ต่อสังคมได้ อาจถูกเปิดดู
ข้อมูลได้
- ผู้ใช้ระบบสารสนเทศขาดความชำนาญในการใช้งาน
- ข้อมูลอาจสูญหายได้
โจทย์ข้อ 2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาล
ไทย จงสังเคราะห์ความรู้จากแผนแม่บทมาเป็นคำอรรถาธิบายให้แจ้งชัด
ตอบ เห็นด้วยกับการจัดทำแผนแม่บทเพราะ
1.จะได้พัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอที่จะรองรับการพัฒนา
ประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคมโดยรวม โดยแบ่งมาตรการ
ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1.1 การพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยสนับสนุน
การพัฒนาด้านไอซีที ปรับปรุงรูปแบบ วิธีการ ให้อยู่ในขั้นสูงได้และพัฒนา
บุคลากรที่ปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมให้มีความรู้ ทักษะและศักยภาพสูง
ขึ้น
1.2 การพัฒนาบุคลากรในสาขาวิชาอื่นๆและบุคคลทั่วไป โดยให้มีการนำไอซีทีมา
ใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนควบคู่ไปกับการปรับหลักสูตรการเรียนการ
สอนที่เน้นด้านการวิเคราะห์ การแก้ปัญหา พัฒนาการเรียนรู้นอกสถาบัน
โดยสนับสนุนการเรียนรู้ไอซีทีของชุมชน ฝึกการอบรมให้แก่ผู้ใช้บริการเพื่อ
สะดวกในการเข้าข้อมูลอันจะเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน การพัฒนา
ทักษะแก่แรงงานในสถานประกอบการ แก่ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้สูง
อายุ จัดทำและเผยแพร่อุปกรณ์ซอฟแวร์ ฮาร์ตแวร์ เทคโนโลยีเพื่อความ
สะดวก สื่อการเรียนรู้ พัฒนาทักษะ ความรู้แก่บุคลากรของรัฐที่สอดคล้อง
กบตำแหน่ง ให้มีแรงจูงใจ ค่าตอบแทน และโอกาสความมั่นคงในหน้าที่การ
งานให้เหมาะสม
1.3 สนับสนุนเพื่อเสริมสร้างการพัฒนา”คน”ในวงกว้าง คือ การพัฒนาระบบฐาน

ข้อมูลกำลังคนด้านไอซีที
2. เพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการและการกำกับดูแล กลไกและกระบวนการใน
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยเน้นความเป็นเอกภาพ การใช้

ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและการมีส่วนร่วมที่เกี่ยวข้องโดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ
2.1 ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการไอซีทีระดับชาติ โดยผลักดัน
แผน
แม่บทไปสู่การปฏิบัติและเสริมสร้างความเข้มแข็งของ
หน่วยงาน สร้างกลไกในการทำงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือและ
บูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการไอซีท
ระหว่างประเทศ จัดตั้งสภาไอซีที
2.2 ปรับปรุงกระบวนการจัดทำ/เสนองบประมาณและกระบวนการ
พิจารณาจัดสรรงบประมาณด้านไอซีทีของรัฐเพื่อจะได้ใช้จ่ายอย่าง
คุ้มค่าและเกิดประโยชน์ มีประสิทธิภาพ
2.3 พัฒนาและหรือปรับปรุงกฎหมาย/กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องรวมถึง
กลไกบังคับใช้กฎหมาย/กฎระเบียบ เพื่อให้เอื้อต่อการใช้ไอซีที
และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
2.4 ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลตัวชี้วัดสถานภาพการพัฒนาไอซีทีของ
ประเทศ เพื่อสนับสนุนการติดตามประเมินผลการพัฒนาไอซีทีและ
ดำเนินการตามแผนแม่บทไอซีที
3. เพื่อพัฒนาและบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและการสื่อสาร โดยให้มี

การกระจายอย่างทั่วถึง ทุกกลุ่มบุคคล มุ่งเน้นการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในการ
เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เพื่อทำให้สังคมมีความสงบสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แบ่ง
เป็น 5 กลุ่มคือ
3.1 ขยายประเภทบริการ เพิ่มพื้นที่บริการและปรับปรุงประสิทธิภาพ
ของโครงข่ายคมนาคมภายใต้หลักการแข่งขันและเป็นธรรมอย่าง
แท้จริงและให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
3.2 เร่งรัดการสร้างความมั่นคงของระบบสารสนเทศขอหน่วยงานของรัฐและหน่วย

งานที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการสร้างความเข้าใจถึงภัย
อันตรายและผลกระทบที่เกิดขึ้น
3.3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีเพื่อยกระดับการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ของประชาชน โดยการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ประกอบการในการพัฒนาโครงข่าย
ไอซีทีเพื่อการศึกษา
3.4 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำหรับบริการภาคสังคมที่สำคัญต่อความ
ปลอดภัยสาธารณะและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยรัฐร่วมกำกับดูแล
กิจการโทรคมนาคมและการแพร่ภาพกระจายเสียง
3.5 เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโครงข่ายและทรัพยากร โดยมีการจัด

ทำฐานข้อมูลโครงข่ายในประเทศ เพื่อนำมาประกอบการกำหนดพื้นที่สำหรับ
บริการอย่างทั่วถึงและให้มีการศึกษาเพื่อติดตามความก้าวหน้าและแนวโน้ม
ของเทคโนโลยี
4. เพื่อสนับสนุนการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารและบริการ สามารถ
ตอบสนองต่อการให้บริการที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลางได้อย่างมี
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคที่
เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
4.1 การสร้างความเข้มแข็งให้กับหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบ
ให้ทุกกระทรวงดำเนินการเพื่อพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ของ
รัฐแบบบูรณาการ
4.2 สร้างความเข้มแข็งด้านไอซีทีแก่หน่วยงานของรัฐในระดับภูมิภาค จังหวัด
และส่วนท้องถิ่น
4.3 เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ
ไอซีที โดยมุ่งเน้นการสร้างงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม
ภายในประเทศ ส่งเสริมกาถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกิดจากการ
วิจัยของผู้ประกอบการและสร้างสภาพแวดล้อม ประกอบด้วย
4.4 การสนับสนุนด้านเงินทุนช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่
4.5 การยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการไอซีทีสู่ระดับ
สากล
4.6 การสร้างโอกาสการตลาดและโอกาสในการแข่งขันสำหรับ
ผู้ประกอบการไทยทั้งตลาดภายในและภายนอกประเทศ
4.7 การส่งเสริมการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมไอซีทีทั้งภายในและจากต่างประเทศ
5. เพื่อก้าวไปสู่การผลิตและการค้าสินค้าและบริการที่ใช้ฐานความรู้และนวัตกรรม
และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน
ผู้ประกอบการ โดยการสร้างคุณค่าของสินค้าและบริการและมูลค่าเพิ่มใน
ประเทศ ประกอบด้วย
5.1 สร้างความตระหนักและพัฒนาขีดความสามารถด้านไอซีทีของผู้ประกอบการ
5.2 เสริมสร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
5.3 ส่งเสริมการนำไอซีทีมาใช้ในการผลิตและบริการ
5.4 ยกระดับศักยภาพในการแข่งขันผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมและ
วิสาหกิจของชุมชน
5.5 ส่งเสริมการนำไอซีทีมาใช้ในมาตรการประหยัดพลังงานเพื่อลดค่าใช้จ่ายและ
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับองค์กรและประเทศอย่างยั่งยืน
และเพื่อให้เกิดผลสำเร็จดังเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้าง
การบริหารจัดการและระบบการติดตามประเมินผลเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการ
บริหารแผนและการประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ
โจทย์ข้อ 3 ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย(กฎหมายว่าด้วยการกระทำความ

ผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้
คอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด จงอภิปรายถึง
ประเด็นที่เกี่ยวข้องให้เห็นเป็นรูปธรรม
ตอบ เห็นด้วย ในกรณีความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหลายประเด็นด้วยกัน เช่น การ
เปิดเผยข้อมูลที่สร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดทำขึ้นเฉพาะ
และนำไปโดยมิชอบ การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ส่อในทางที่ไม่ดี ปลอมแปลง

เอกสารทำลาย แก้ไข การให้ข้อมูลเท็จหรือสร้างความเสียหายด้วยวิธีการทาง
อิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นไม่ได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ การกระทำความ
ผิดดังข้างต้น ต้องทำให้ผู้อื่นถึงตาย ผู้ที่จำหน่ายหรือตัดต่อภาพ แพร่ภาพของผู้อื่นที่ไม่
ได้รับอนุญาตจากเจ้าของภาพโดยไม่ได้สร้างสรรค์ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทำ
ให้ผู้อื่นเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและก่อให้เกิดความอับอาย การใช้ข้อมูลที่ผิดต่อ
ความมั่นคงของประเทศชาติ ความผิดดังกล่าวจะต้องมีโทษจำคุกและปรับเงินตาม
กฎหมาย
ในกรณีความผิดในพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น ไม่ให้พนักงานหรือเจ้าหน้าที่เปิดเผย

ข้อมูลหรือส่งข้อมูลในการเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินคดีเจ้าหน้าที่ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูล
คอมพิวเตอร์แล้วนำไปเปิดเผยต่อผู้อื่น ผู้ที่ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
หรือสั่งให้บุคคลอื่นเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่
ในการถอดรหัสลับ ผู้นั้นต้องมีโทษจำคุกหรือปรับเงินตามกฎหมาย

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 1 พื้นฐานของชีวิต

ธรรมชาติให้เวลามนุษย์ทุกคนเท่ากันวันละ 24 ชั่วโมง แต่ละคนใช้เวลากระทำสิ่งที่มีคุณค่าต่างกัน จึงมีผลต่อความสำเร็จในชีวิตที่ต่างกัน บางคนมีความพร้อมทุกๆด้าน แต่บางคนขาดหลายสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิต...ทั้งนี้เพราะคนเรามีพื้นฐานชีวิตและแนวทางสู่ความสำเร็จที่ต่างกัน

บทที่ 2 การปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงาน

มนุษย์มีสัญชาติญาณที่จะอยู่ร่วมกันเป็นหมวดเป็นหมู่ เป็นกลุ่ม เป็นสังคม เพื่อความอยู่รอดปลอดภัย จึงจำเป็นที่จะมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความรักใคร่ นับถือ ยกย่องเลื่อมใส การทำงานร่วมกัน ถ้าทุกคนสามารถสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างมีความราบรื่นและบังเกิดผลดี

บทที่ 3 การยอมรับความแตกต่าง

เขามีส่วนเลวบ้างช่างหัวเขา จงเลือกเอาส่วนดีเขามีอยู่
เป็นประโยชน์โลกบ้างยังน่าดู ส่วนที่ชั่วอย่าไปรู้ของเขาเลย
จะหาคนมีดีโดยส่วนเดียว อย่ามัวเที่ยวค้นหาสหายเอย
เหมือนเที่ยวหาหนวดเต่าตายเปล่าเลย ฝึกให้เคยมองแต่ดีมีคุณจริง

ชีวิตที่เลือกไม่ได้

ชีวิตที่เลือกไม่ได้
ทุกคนต้องการแสวงหาความรัก ความเอาใจใส่ ต้องการกำลังใจจากคนรอบข้าง ถึงแม้ว่าในเสี้ยวหนึ่งของชีวิตก็ยังดี

มนุษยสัมพันธ์

มนุษยสัมพันธ์
มนุษย์จะอยู่เพียงไม่ได้ แต่มนุษย์ต้องการเพื่อน ต้องการคนที่รู้ใจไว้คอยปรับทุกข์ แบ่งปันความสุขให้กันและกัน

ธรรมชาติสร้างกำลังใจ

ธรรมชาติสร้างกำลังใจ
การได้ไปยืนต่างสถานที่ต่างเวลา ปล่อยความเครียดออกไป ซึมซับความงดงามจากธรรมชาติ ทำให้เรามีกำลังใจที่จะสู้ต่อไปอีกครั้งหนึ่ง

การทำงานเป็นทีม

การทำงานเป็นทีม
สามารถทำให้กิจกรรมหรืองานที่ทำนั้นสำเร็จมากกว่าครึ่ง